กอล์ฟสยาม


กอล์ฟสยามเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2467
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติกอล์ฟสยาม

ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ากีฬากอล์ฟเริ่มขึ้นเมื่อไรและได้กลายเป็นกีฬาแพร่หลาย เพราะราชูปถัมภ์ในสมัยเริ่มแรก ประมาณหัวเลี้ยวหัวต่อศตวรรษ ที่แล้วกีฬากอล์ฟซึ่งยังคงเล่นกันไม่แพร่หลายเช่นปัจจุบันได้รับความนิยมเฉพาะในราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯแม้จะไม่โปรดทรงกอล์ฟนักแต่ก็ในรัชสมัยของพระองค์ ที่สนามกอล์ฟแห่งแรกในประเทศไทย ได้ถูกสร้างขึ้น โดยพระบรมราชโองการเล่ากันว่า พระองค์ได้ทรงดำริให้สร้าง สนามกอล์ฟ 9 หลุม ที่บริเวณโรงแรมรถไฟใกล้ชายทะเลหัวหินเห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงตระหนัก ถึงความต้องการของพระบรมวงศานุวงศ์ และชาวต่างประเทศซึ่งมีพ่อค้าและทูตานุทูตในกรุงเทพฯที่อยากเล่นกีฬานี้ กีฬากอล์ฟเริ่มในประเทศไทย

ตอนเริ่มศตวรรษที่ 20 ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เล่นที่สนามกอล์ฟ แห่งใดแห่งหนึ่งใน 3 แห่งในกรุงเทพฯ สนามกอล์ฟดังกล่าว คือราชกรีฑา ราชตฤณมัย และ พระราชวังสวนจิตรลดา

บ่อยครั้ง นักตีได้ออกรอบสนามทั้งสองในวันที่มีม้าแข่งและเล่นเฉพาะด้านในของสนามเท่านั้น เป็นเรื่องที่น่าประหลาดที่นักกอล์ฟซึ่งเล่นด้วยไม้กราไฟท์ ในสมัยนี้จะเล่นกอล์ฟในท่ามกลางคนดูถึง 20,000 คน ในวันแข่งม้า และรู้สึกสนุกสนานตลอดเวลาเสียด้วย หากกอล์ฟเริ่มกว่า 10 ปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้วไซร้ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นเอง ที่ญี่ปุ่นได้ทำลายสถิติต่างๆซึ่งเป็นประวัติกีฬานี้เป็นส่วนใหญ่ ตามความเชื่อดั้งเดิมเป็นที่เชื่อกันว่า กอล์ฟเริ่มในประเทศไทย ประจวบกับการสร้างสโมสรราชกรีฑาในปี 1901 และมีสถิติที่น่าสนใจในปี 1906 ในสมุดบัญชีซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่เหลืออยู่ภายหลังจากการซ่อมแซม มีรายการว่าได้รับเงินค่ากรีนฟี 74.14 บาท ในเดือนกันยายนในปีนั้น

แรกทีเดียว กีฬานี้กล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมเล็กๆทางสังคม ภายหลังจากเล่น 9 หลุม หรือ 18 หลุม ก็อาจจะมีการดื่มและคุยกันเป็นที่สำราญบานใจ กอล์ฟกลายเป็นกีฬาที่แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตายเมื่อสร้างสนามกอล์ฟหัวหินขึ้น ทั้งนี้เพราะสนามดังกล่าว เป็นสนามเพื่อการแข่งขันโดยตรง ทั้งสนามกอล์ฟหัวหินและโรงแรมรถไฟที่หัวหิน
ล้วนเป็นโครงการที่กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน องค์ผู้ให้กำเนิดรถไฟทรงริเริ่มการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าของและดำเนินกิจการชายหาดแบบยุโรปจนถึงทุกวันนี้

ชาวสก๊อต ชื่อ เอ.โอ โรบินส์ เป็นผู้วางแบบแปลนสร้างสนาม และได้เป็นวิศวกรควบคุมทางย่านเพชรบุรีในระยะเริ่มแรก มีโครงการเพียง 9 หลุม โดยมีความยาว 3,300 หลา พาร์ 38 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1922

about

วันที่ 28 มิถุนายน 1924 ประมาณ 20 เดือนภายหลังถือได้ว่า เป็นวันสำคัญยิ่งของประวัติสนาม เพราะในวันนั้นเองสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เสด็จไปเยือนสนามก่อนหน้าพระองค์จะสวรรคตเพียง 1 ปี พระองค์ได้ทรงเริ่มแต่หลุมแรก ท่ามกลางผู้ติดตามในโอกาสอันหาได้ยากนี้ ในวันนั้นเองถือเป็นวันประวัติศาสตร์แห่งการเริ่มการแข่งขันกอล์ฟในประเทศไทยต้องใช้เวลาอีก 2 ปี

กว่าสนามกอล์ฟหัวหินจะขยายอีก 2,300 หลา เพื่อทำพาร์ 37 ดังนั้น สนามหัวหินจึงมี ระยะ 5,600 หลา และพาร์ 75 (38-37) กอล์ฟแพร่หลายขึ้นมากหลังรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล และกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้ทรงเลื่อนขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการพาณิชย์และคมนาคม สมเด็จพระอนุชารัชกาลที่ 6 เจ้าฟ้าประชาธิปกได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นรัชการที่ 7 พระองค์ทรงเป็นนักกอล์ฟ ดังนั้นจึงได้เสด็จสนามหัวหินบ่อยครั้ง จนกระทั่งกรมพระกำแพงเพชรฯ ทรงดำริให้สถาปนิกชาวอิตาลีสร้างศาลาขึ้น เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์ในสนาม ศาลานี้เป็นงานศิลปะที่งดงาม ได้กระทำพิธีเปิดพร้อมกับสนามที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ปลายปี 1928 ศาลานี้ได้รับการรักษาแม้ภายหลังรัชกาลที่ 7 จนกระทั่งบัดนี้ เมื่อ 6 ปีที่แล้วก็ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ และเมื่อวันที่ 18 กรกฏาคม 1969 ศาลานี้ได้รับนาม “ประชาธิป” เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระองค์ท่าน และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดศาลานี้ สนามกอล์ฟหัวหินซึ่งสร้างในสมัยแรกของกีฬานี้ จะเป็นประภาคารที่ส่องเห็นความเจริญของกีฬานี้ จนบัดนี้ สนามนี้ได้เป็นสนามที่ธรรมชาติที่สุด และต่างก็ยินดีปรีดาที่ได้มาแข่งยังสนามนี้ สนามกอล์ฟหัวหินซึ่งดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้เครื่องมือในการรดน้ำในระยะไม่กีปีนี้จึงทำให้สนามเขียวชอุ่มขึ้นไม่เป็นทรายและแห้งแล้งเช่นแต่ก่อนปัจจุบันสนามหัวหินซึ่งยาว 6,759 หลา พาร์ 72 นับเป็นสนามที่เยี่ยมที่สุดในจำนวนสนามกอล์ฟ 40 แห่งในประเทศ

 

สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเป็นนักกอล์ฟที่โด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ได้ทรงศึกษาในอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับพระนครในวัยหนุ่ม พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาเต็มตัว กีฬาที่ทรงถนัดคือ ขี่ม้า สควอช เทนนิส และกอล์ฟ นอกจากทรงกอล์ฟแล้ว พระองค์ยังได้ส่งเสริมให้กีฬาดังกล่าวได้แพร่หลาย ก่อนขึ้นครองราชย์หนึ่งปี พระองค์ได้ทรงกอล์ฟที่ราชกรีฑาเป็นประจำ แม้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ยังทรงสนพระทัยในกีฬานี้อยู่ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีก็ได้ทรงนิยมในกีฬานี้ด้วย แต่เพราะทรงมีภารกิจประจำ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีจึงได้ทรงกอล์ฟไม่ได้มากดังพระประสงค์กอล์ฟได้กลายเป็นกีฬาที่โปรดปรานในราชสำนัก และแม้ในระหว่างงานเลี้ยง ก็ได้เป็นเรื่องที่อยู่ในวงสนทนาอยู่เป็นประจำ เลยทำให้คนที่ไม่ได้เล่นกอล์ฟรู้สึกรำคาญไปด้วย แต่ในที่สุดก็ต้องเปลี่ยนในตามคำพังเพยที่ว่า “ถ้าเอาชนะเขาไม่ได้ก็ต้องร่วมกับเขา” สมเด็จพระปกเกล้าฯ นอกจากจะทรงเป็นนักกอล์ฟแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักการทูตด้วยเพื่อไม่ให้นักกอล์ฟได้พูดกันพร่ำเพรื่อ มีเรื่องเล่าว่า พระองค์ได้จัดให้มีหีบเงินสีเขียวไว้ในราชสำนักหากใครพูดถึงกอล์ฟก็จะต้องถูกปรับ 1 บาท ซึ่งมีค่าพอสมควรในสมัยนั้น และเก็บไว้ในหีบเงินนั้น และปรากฏว่าได้ผล เพราะหีบเงินเต็มไปด้วยเหรียญ และซ้ำร้ายมีธนบัตรในละ 10 อีกด้วย อันหลังนี้เป็นค่าปรับสำหรับผู้ออกท่าทางกอล์ฟนั่นเอง

 

นอกจากจะทรงสนพระทัยในฐานะนักกอล์ฟสมัครเล่นแล้ว พระองค์ยังได้ค้นพบนักกอล์ฟอาชีพคนแรกของไทยอีกด้วย โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่หัวหิน พรองค์ทรงทีออฟเลยต้องหารือกับแคดดี้หนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งถวายคำแนะนำ และเมื่อทรงถามถึงชื่อก็ได้รับคำตอบว่า “ทิม กันร้าย พระพุทธเจ้าข้า” ตั้งแต่นั้นมา ชื่อ ทิม ทัพพวิบูล จึงได้กลายเป็นชื่อที่กล่าวขวัญถึงเสมอในประวัติกอล์ฟไทย เพราะครูทิมชนะการแข่งขันเกือบทุกครั้งในสมัยนั้น และได้ไปแข่งที่ฟิลิปปินส์ในปี 1930 และประสบชัยชนะกลับมา ที่พม่า ครูทิมก็มีชัยหลายครั้ง และในการแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่น ซึ่งพระองค์ทรงริเริ่ม ครูทิมก็ทำสถิติชนะเลิศถึงร่วม 10 ปีด้วยกัน ต่อมาครูทิมก็มีคู่ปรับคือ ชลอ จุลกะ ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันหลังปี 1930 จวบจนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนักตีลายครามทั้ง 2 นี้เอง จึงได้เกิดศักราชนักตีอาชีพขึ้นในประเทศไทย ครูทิมมีลูกๆ ซึ่งเป็นนักตีชั้นแนวหน้า ส่วนครูชลอก็ได้ให้การสนับสนุนนักตีรุ่นหนุ่มหลายคน เช่น สุกรี อ่อนฉ่ำ นักตีอันดับหนึ่ง และ สุจินต์ สุวรรณพงษ์ (อาจินต์ โสพล) ซึ่งได้ไปทำประวัติกอล์ฟเวิลด์คัพให้กับไทยเมื่อปี 1969 ที่สิงคโปร์ สนามกอล์ฟจิตรลดาหยุดกิจการไปหลายปี แต่สนามกอล์ฟดุสิตยังคงรุ่งเรืองต่อไป และยังเป็นสำนักงานของสมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทยอีกด้วย ทางด้านราชกรีฑาก็ได้บูรณะซ่อมแซมหลังจากถูกญี่ปุ่นยึดครอง และหลังสงครามก็ได้ตั้งคณะกรรมการกอล์ฟพิเศษขึ้น เพื่อจัดสร้างสนามเริ่มจาก 9 หลุมในปี 1948 แล้วต่อจากนั้นเป็น 11 หลุม จนครบ 18 หลุม และจัดการแข่งขันระหว่างสโมสรกับดุสิต เรียกฟีนิกซ์คัพ ในวันที่ 8 มกราคม 1950

about

เรื่องเล่ากันเกี่ยวกับกอล์ฟราชกรีฑา ซึ่งแหวกแนวไม่ซ้ำแบบใคร มีเรื่องเล่ากันว่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกกอล์ฟเป็นของหายากมาก และอีกาได้รับการฝึกให้คาบลูกกอล์ฟ แล้วนำกลับรัง และแคดดี้หัวใสก็จะนำลูกกอล์ฟที่ขโมยนำมาขายเอาสตางค์

คณะกรรมการกอล์ฟรู้สึกรำคาญใจถึงขนาดว่าจะต้องใช้ปืนกำจัด และมีรายงานการประชุมว่า “มิสเตอร์ เอส ยี บอยด์ กำลังจะจัดหาปืนเพื่อการนี้” และก็ได้ผลปรากฏว่า ไม่มีข่าวคราวเกี่ยวกับเจ้าอีกามาก่อความรำคาญอีกต่อไป แม้ว่าสมาคมกอล์ฟจะจดทะเบียนตั้งแต่ปี 1930 เมื่อเริ่มการแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่นก็ตาม แต่ก็ไม่มีบันทึกรายละเอียดเรื่องนี้ ดังนั้น ประวัติสมาคมกอล์ฟในยุคใหม่จึงเริ่มตั้งแต่ปี 1964 นั่นเอง โดยประจวบกับการที่ไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟเซอร์กิจแห่งภาคตะวันออกไกล ซึ่งบัดนี้เรียกว่า เอเซียกอล์ฟ เซอร์กิต โดยมีฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ร่วมด้วย
ในปีแรก สมาคมกอล์ฟด้วยความช่วยเหลือจาก แพต โอคอนแนล แห่งเบนไลน์ และเท็ดดี้ เดอลาไฟรเอ็ท แห่งเชลล์ ได้จัดการแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่นขึ้น ในเดือนมีนาคม 1965 โดยมีเงินรางวัล 2 แสนบาท ไทยเป็นสนามที่ 5 ของการแข่งขันเซอร์กิจครั้งนั้น
ในระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่นได้ก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง และเงินรางวัลก็ได้เพิ่มขึ้นอีก ในระยะแรก สนามที่ใช้จัดการแข่งขันไทยแลนด์โอเพ่นคือ สนามกองทัพอากาศดอนเมือง ในปี 1970 สมาคมกอล์ฟได้เลือกสนามกอล์ฟบางพระเป็นสนามแข่ง ปี 1973 ได้ย้ายไปสนามสยามคันทรีคลับ ที่พัทยา ปี 1974 และ 1975 ได้หวนกลับมาที่บางพระอีก สนามบางพระอยู่ในความดูแลของ อสท. นอกจากเป็นเจ้าภาพจัดกอล์ฟไทยแลนด์โอเพ่นแล้ว สนามกอล์ฟยังได้จัดกอล์ฟคิงส์คัพและควีนส์คัพ การคัดเลือกกอล์ฟทุกระดับ และทีมแชมป์เอเซียแล้วยังได้วางแนวคัดเลือกเวิลด์คัพและการแข่งขันที่ได้รับเชิญอีกด้วย สมาคมกอล์ฟได้เป็นสมาชิกของสมาพันธ์กอล์ฟแห่งเอเชีย แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของสหพันธ์กอล์ฟแห่งโลก ซึ่งจัดกอล์ฟชิงถ้วยไอเซนเฮาว์ทุก 2 ปีเนื่องจากมีนโนบายสนับสนุนกอล์ฟในประเทศสมาคมกอล์ฟได้ให้กำลังใจและความช่วยเหลือ ต่อมาสมาคมกอล์ฟอาชีพตลอดมาตั้งแต่ปี 1968 ในปี 1974 สมาคมกอล์ฟอาชีพได้จัดกอล์ฟไทยกอล์ฟเซอร์กิตขึ้น โดยมีสปอนเซอร์ 5 ราย ให้เงินรางวัลรวม 3 แสนบาท

ประวัติการสร้างสนามกอล์ฟในไทย

สนามที่ 1 ราชกรีฑาสโมสร

ในระยะเริ่มแรก ราชกรีฑา ได้กลายเป็นสนามประวัติศาสตร์ โดยเหตุบังเอิญหรือเจตนาไม่ทราบได้ สโมสรซึ่งต่างได้จัดแข่งขัน “กีฬาพระราชา” ได้สร้างสนามกอล์ฟ 18 หลุมขึ้นในสนามแข่งม้านั่นเอง

ประวัติการสร้างสนามกอล์ฟในไทย

สนามที่ 2 สนามราชตฤณมัย

สมาคมแห่งประเทศไทย (นางเลิ้ง)

เป็นสนามกอล์ฟ 18 หลุม คลองเป็นเครื่องกีดขวาง เป็นสนามประวัติศาสตร์ มีการจัดแข่งขัน "กีฬาพระราชา" ในราวปี 1972 มีดาวตลกชื่อดังระดับโลก บ๊อบ โฮป ได้ออกทีออฟ ด้วยไม้ตีคริกเก็ต และได้สร้างความบันเทิงให้กับผู้พบเห็น เพราะลูกกอล์ฟได้หล่นไปในคลองข้างหน้าดาวตลกนั่นเอง

ประวัติการสร้างสนามกอล์ฟในไทย

สนามที่ 3 พระราชวังสวนจิตรลดา

หลังจากสร้างสนามกอล์ฟที่ราชกรีฑาแล้ว ราชตฤณมัย และพระราชวังสวนจิตรลดาก็สร้างขึ้นนั้น และจากสนามทั้ง 3 แห่งนี้เอง กีฬากอล์ฟก็เริ่มจะเป็นกีฬาที่นิยมกันแพร่หลายในสมัยต่อมา